ตั้ง iPuYing.com เป็นหน้าแรก | ติดต่อโฆษณา
เรื่องผู้หญิง ข่าวสารผู้หญิง เคล็ดลับสุขภาพ Beauty Trips Hair Intrend Hot Fashion แม่และเด็ก
เคล็ดลับสุขภาพ
ยาหยอดหู...วิธีใช้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

ยาหยอดหู

    ยาหยอดหูมักเป็นตัวเลือกหนึ่งที่ถูกนำมาใช้สำหรับรักษาอาการปวดหู อันเนื่องมาจากการอักเสบหรือการติดเชื้อภายในหู เช่น การอักเสบของหูชั้นนอก ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของอาการปวดหู อย่างไรก็ตาม การใช้ยาหยอดหูจะต้องใช้ด้วยความระมัดระวังและใช้อย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบอื่น ๆ ที่อาจเป็นอันตรายต่อหูของเรา

    ยาหยอดหูมีทั้งชนิดที่หาซื้อได้เองตามร้านขายยาทั่วไปและชนิดที่ต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น โดยแต่ละชนิดจะใช้รักษาอาการที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงอาจมีข้อควรระวังในการใช้งานที่แตกต่างกันออกไปด้วย

    ยาหยอดหูสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ

    ยาต้านจุลชีพและยาต้านเชื้อรา
    ใช้สำหรับรักษาอาการอักเสบของหูชั้นนอกและหูชั้นกลาง รวมถึงอาการติดเชื้อราในหู ซึ่งมักมีสาเหตุมาจากการที่น้ำเข้าหูระหว่างอาบน้ำหรือว่ายน้ำแล้วไม่ได้เช็ดให้แห้ง ทำให้หูเกิดการอักเสบ ปวด คัน และอาจมีอาการบวมตามมา

    ตัวอย่างยาที่ใช้รักษาอาการอักเสบหรือติดเชื้อราในหู เช่น ยานีโอมัยซิน (Neomycin) ยาเจนตามัยซิน (Gentamicin) ยาโพลีมัยซินบี (Polymyxin B) ยาโคลไตรมาโซล (Clotrimazole) ยาฟลูโคนาโซล (Fluconazole) ยาอะลูมิเนียมอะซิเตท (Aluminium Acetate) และกรดอะซิติก (Acetic Acid)

    ยาต้านการอักเสบชนิดสเตียรอยด์
    ใช้สำหรับรักษาอาการอักเสบและอาการบวมซึ่งมีสาเหตุมาจากการอักเสบหรือการติดเชื้อภายในหู เช่น ยาเพรดนิโซโลน (Prednisolone) ยาเดกซาเมทาโซน (Dexamethasone) และยาไฮโดรคอร์ติโซน (Hydrocortisone) โดยยาหยอดหูบางชนิดอาจมีทั้งยาต้านจุลชีพและยาคอร์ติโคสเตียรอยด์อยู่ด้วยกัน และในบางกรณี ยาหยอดหูคอร์ติโคสเตียรอยด์ยังสามารถใช้รักษาอาการคันหูที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อได้ด้วย

    ยาแก้ปวด
    ใช้สำหรับรักษาอาการปวดหูซึ่งมักมีสาเหตุมาจากการอักเสบและติดเชื้อภายในหู โดยส่วนใหญ่จะถูกใช้เป็นยาชาเฉพาะที่ เช่น ยาลิโดเคน (Lidocaine) และยาเบนโซเคน (Benzocaine) นอกจากนี้ ยาแก้ปวดหูมักมีการผสมยาต้านจุลชีพร่วมด้วย เพื่อช่วยลดการระคายเคืองจากยาต้านจุลชีพ

    ยาละลายขี้หู
    ใช้สำหรับรักษาอาการขี้หูอุดตัน โดยตัวยาจะออกฤทธิ์ทำให้ขี้หูอ่อนนุ่มและสามารถเอาออกจากรูหูได้ง่ายขึ้น ยาละลายขี้หูมี 3 รูปแบบ คือ รูปแบบน้ำ รูปแบบไม่ใช่น้ำ และรูปแบบน้ำมัน ตัวอย่างยาละลายขี้หู เช่น ยาคาร์บาร์ไมด์เปอร์ออกไซด์ (Carbamide Peroxide) ยาไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (Hydrogen Peroxide) ยาโซเดียมไบคาร์บอเนต (Sodium Bicarbonate) และกลีเซอรีน (Glycerine)

    วิธีการใช้ยาหยอดหู
    การใช้ยาหยอดหูอย่างถูกต้องและปลอดภัยควรปฏิบัติตามวิธีการดังต่อไปนี้

    - อ่านคำแนะนำบนฉลาก และทำความเข้าใจเกี่ยวกับปริมาณและระยะเวลาในการใช้ยาอย่างถี่ถ้วน
    - ล้างมือให้สะอาดก่อนใช้ยาหยอดหู เพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งสกปรกหรือเชื้อโรคต่าง ๆ เข้าสู่รูหู
    - หากเก็บยาหยอดหูไว้ในตู้เย็นควรทำให้ยาอุ่นขึ้นก่อนใช้ โดยการถือขวดยาไว้ในมือประมาณ 1–2 นาที เพราะถ้าใช้ยาหยอดหูในขณะที่เย็นอาจทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะได้
    - เปิดฝายาหยอดหูและวางฝาหงายขึ้น รวมถึงไม่ควรให้ปากขวดหรือหลอดหยดยาสัมผัสกับมือ รูหู หรือพื้นผิวอื่น ๆ ด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการปนเปื้อนของเชื้อโรคหรือสิ่งสกปรก
    - ตะแคงศีรษะให้หูข้างที่ต้องการจะหยอดยาอยู่ด้านบน ใช้มืออีกข้างดึงใบหูส่วนบนไปทางด้านหลังให้ตึงเล็กน้อย เพื่อให้ตัวยาสามารถเข้าสู่รูหูได้ง่ายขึ้น จากนั้นหยอดยาตามปริมาณที่กำหนด
    - นวดบริเวณติ่งหูขึ้นลงเบา ๆ และตะแคงศีรษะค้างไว้ตามระยะเวลาที่แพทย์หรือคำอธิบายบนฉลากแนะนำ เพื่อให้ตัวยาเข้าไปในรูหู หากมียาส่วนเกินไหลออกจากรูหูให้เช็ดด้วยทิชชู่หรือผ้าสะอาด
    - ในกรณีที่ต้องใช้ยาหยอดหูทั้ง 2 ข้างให้หยอดทีละข้าง โดยหยอดหูข้างแรกให้เสร็จก่อน แล้วจึงทำตามขั้นตอนเดิมซ้ำกับหูอีกข้างหนึ่ง เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วควรล้างมือให้สะอาดและเก็บยาตามคำแนะนำของแพทย์หรือคำอธิบายบนฉลากให้เรียบร้อย

    นอกจากนี้ การใช้ยาหยอดหูสำหรับเด็กอาจเป็นเรื่องยาก คุณพ่อคุณแม่จึงควรช่วยกันจับศีรษะให้ตะแคงในลักษณะที่ถูกต้องและช่วยหยอดยาให้โดยใช้วิธีการด้านบน แต่เนื่องจากใบหูของเด็กจะมีขนาดเล็กกว่าใบหูของผู้ใหญ่ ในขั้นตอนการหยอดยาจะต้องดึงใบหูส่วนล่างหรือบริเวณติ่งหูไปด้านหลังแทนเพื่อให้ตัวยาสามารถเข้าสู่รูหูได้ง่ายขึ้น

    ข้อควรระวังในการใช้ยาหยอดหู

    ยาหยอดหูบางชนิดอาจมีข้อควรระวังในการใช้โดยเฉพาะที่แตกต่างกันออกไป จึงควรศึกษาข้อควรระวังในการใช้ยาหยอดหูแต่ละชนิดให้เข้าใจก่อนการใช้ยา เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอันตรายแก่หูของคุณ

    - ควรใช้ยาในปริมาณและระยะเวลาตามคำแนะนำของแพทย์หรือคำแนะนำบนฉลากอย่างเคร่งครัด ไม่ควรใช้ยาในปริมาณมากกว่าที่แพทย์กำหนด เพราะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงตามมาได้
    - ไม่ควรใช้ยาหยอดหูหากสังเกตว่าหลอดหยดยามีรอยแตก รอยบิ่น หรือมีการปนเปื้อนของสิ่งสกปรก
    - ไม่ควรใช้ยาหยอดหูหากคิดว่ามีอาการแก้วหูทะลุเกิดขึ้น โดยอาการที่อาจเป็นสัญญาณของการเกิดแก้วหูทะลุ ได้แก่ ปวดหู สูญเสียการได้ยิน มีเสียงดังในหู น้ำในหูไหล และรู้สึกบ้านหมุน
    - หากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นหลังจากการใช้ยาหยอดหู เช่น มีอาการปวดหูเพิ่มขึ้น เกิดอาการบวมแดงในรูหู หูอื้อ มีเสียงดังในหู สูญเสียการได้ยิน รวมถึงอาการแพ้ยาอย่างอาการวิงเวียนศีรษะ มีผื่นขึ้น และหายใจลำบาก ควรรีบไปพบแพทย์
    - ไม่ควรใช้ยาหยอดหูร่วมกับผู้อื่น เพราะอาจทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรค และเกิดการติดเชื้อตามมาได้
พบแพทย์




ข่าวสาร-บทความ อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
แคะหูบ่อยอันตราย เสี่ยงต่อการติดเชื้อ แก้วหูทะลุ
เตือนการดื่มสุราไม่ช่วยป้องกันการติดเชื้อโควิด19
'ภาวะผมร่วง' อาการที่เกิดขึ้นได้หลังการติดเชื้อโควิด 19
ใส่ถุงมือชุบแอลกอฮอล์ช่วยลดการติดเชื้อได้จริงหรือไม่
วิธีป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล (Universal Prevention) 'งดกินร่วมกัน' ทำได้น้อยสุด
แนะดูแลตนเอง เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัส COVID-19
เครื่องตรวจวัดออกซิเจนในเลือดที่ปลายนิ้ว ไม่ใช่เครื่องยืนยันการติดเชื้อโควิด-19
เตือนแผลที่คล้ายแมลงกัด อาจเป็นการติดเชื้อวัณโรคที่ผิวหนัง
เตือนภัยนักดื่ม รวมกลุ่มสังสรรค์เพื่อคลายความหนาว เสี่ยงต่อการติดเชื้อ COVID-19 และอันตรายถึง เสียชีวิตได้
เตือนประชาชนระวังภัยเงียบจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ
 
ยาหยอดหู การติดเชื้อ
 
Popular Tag : คำค้นยอดนิยม ผู้หญิง แฟชั่น เสื้อผ้า ความรัก สุขภาพ ความงาม
ร่วมแสดงความคิดเห็น
 
* นามแฝง หรือ e-mail คุณ
 
 
 
ดูทั้งหมด
เลเซอร์ผิวหนัง ทางเลือกในการรักษาปัญหาผิวพรรณ เลเซอร์ผิวหนัง ทางเลือกในการรักษาปัญหาผิวพรรณ
เตือน!! เครื่องสำอาง “ผงพอกผิวขาว” แสดงเลขที่จดแจ้งปลอม เตือน!! เครื่องสำอาง “ผงพอกผิวขาว” แสดงเลขที่จดแจ้งปลอม
5 อาหารผิว เคล็ดลับฟื้นฟูสุขภาพผิวจากภายในสู่ภายนอก 5 อาหารผิว เคล็ดลับฟื้นฟูสุขภาพผิวจากภายในสู่ภายนอก
สารอาหารป้องกันสิว สารอาหารป้องกันสิว
ยืดอายุการใช้งาน ดูแลอุปกรณ์แต่งหน้าให้ดี ยืดอายุการใช้งาน ดูแลอุปกรณ์แต่งหน้าให้ดี
รอยแผลเป็นจาก ..สิว รอยแผลเป็นจาก ..สิว
เรื่องที่น่าสนใจอัพเดทประจำวัน
บทบาทสตรีไทยและความเท่าเทียมในสังคม บทบาทสตรีไทยและความเท่าเทียมในสังคม
คาสิโอ เปิดตัวนาฬิกา EDIFICE รุ่นใหม่ ดีไซน์จากระบบกันสะเทือนรถแข่งฟอร์มูลา คาสิโอ เปิดตัวนาฬิกา EDIFICE รุ่นใหม่ ดีไซน์จากระบบกันสะเทือนรถแข่งฟอร์มูลา
Pace BNPL จับมือ โว้ก ชวนช้อปแฟชั่นแบรนด์ไทย ด้วยบริการ “ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง” Pace BNPL จับมือ โว้ก ชวนช้อปแฟชั่นแบรนด์ไทย ด้วยบริการ “ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง”
“Wacoal Love Earth Fashion Show 2022” ที่สุดของแฟชั่นโชว์ชุดชั้นในของไทย “วาโก้รักษ์โลก” ทำจริงไม่อิงกระแส “Wacoal Love Earth Fashion Show 2022” ที่สุดของแฟชั่นโชว์ชุดชั้นในของไทย “วาโก้รักษ์โลก” ทำจริงไม่อิงกระแส
มหกรรมลดจัดหนักกลางปี MID YEAR SALE แคมเปญเอาใจขาช้อป “FUTURE PARK &ZPELL GRAND SPLENDOR” มหกรรมลดจัดหนักกลางปี MID YEAR SALE แคมเปญเอาใจขาช้อป “FUTURE PARK &ZPELL GRAND SPLENDOR”
12 ข้อควรรู้ เพื่อความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ 12 ข้อควรรู้ เพื่อความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์
 
 
ข่าวสารบทความ |เซ็กส์ ความรัก | เคล็ดลับสุขภาพ | Beauty Trips | Hair Intrend | Hot Fashion | แม่และเด็ก